ข้อมูลทั่วไป

                                                                บริบททั่วไปของพื้นที่
ข้อมูลสภาพแวดล้อมทั่วไปของหน่วยบริการปฐมภูมิ
แผนที่แสดงพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการปฐมภูมิ  รพ.สต.นาเชือก


แผนที่  อำเภอยางตลาด ตำบลนาเชือก




        

จำนวนพื้นที่ตำบลนาเชือก    48.2    ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรตำบลนาเชือก       7,767      คน  และ  จำนวนหลังคาเรือน  1,723 หลังคาเรือน
ระยะห่างจากอำเภอยางตลาด  26  กิโลเมตร
ที่ตั้งของ    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเชือก  หมู่ 1  ตำบลนาเชือก  อำเภอยางตลาด 
                   จังหวัดกาฬสินธุ์


สภาพทั่วไปด้านเศรษฐกิจและสังคม

1.1 ที่ตั้ง
              ตำบลนาเชือกอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์  อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ  26  กิโลเมตร  โดยมีอาณาเขตจรดกับตำบลต่าง ๆ  ดังนี้
  
ทิศเหนือ                             ติดกับเขื่อนลำปาว อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
   ทิศตะวันออก                     ติดกับตำบลลำคลอง ตำบลบึงวิชัย อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมี 
                                              เขื่อนลำปาวเป็นแนวเขต
    ทิศใต้                                 ติดกับ  ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
   ทิศตะวันตก                       ติดกับ  ตำบลเขาพระนอน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์



1.2 เนื้อที่            มีพื้นที่ทั้งหมด  30,125  ไร่ หรือ  48.2  ตารางกิโลเมตร



1.3 ภูมิประเทศ            ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลนาเชือก  เป็นที่ราบลุ่มมีลำน้ำสายสำคัญคือ ห้วยกุดจี้ และมีคลองชลประทานรับน้ำจากเขื่อนลำปาวผ่านพื้นที่ตอนกลางของตำบล สำหรับเส้นทางคมนาคมสายหลักของตำบลคือ ถนนลาดยางจากปากทางเขื่อนลำปาวเข้าสู่เขื่อนลำปาว โดยมีรถสองแถวโดยสารประจำทางสายเขื่อนลำปาว  - กาฬสินธุ์เป็นพาหนะในการเดินทางเข้าสู่อำเภอและตัวจังหวัดกาฬสินธุ์


1.4  การปกครอง            ตำบลนาเชือกเป็นตำบลที่แยกออกจากตำบลเว่อเมื่อปี  2527  การจัดตั้งบ้านเรือนของประชากรเป็นลักษณะกรรวมกลุ่ม  มีประชากร รวม 8,005 คน ชาย  จำนวน  4,167 คน หญิง  จำนวน 3,838 คน และมีหมู่บ้านติดต่อกันได้อย่างทั่วถึง  และติดต่อกับตำบลอื่น ๆ โดยแบ่งการปกครองออกเป็น  14  หมู่บ้าน 1,687 หลังคาเรือนดังนี้

เขตการปกครองตำบลนาเชือก
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
หลังคาเรือน
ผู้ใหญ่บ้าน
1
นาเชือกใต้
258
นายวราฤทธิ์   ศรีแก้วทุม
2
นาเชือกเหนือ
151
นายบุญเพ็ง ภูเงินขำ (กำนัน)
3
ท่าเรือ
116
นายเสถียรศักดิ์ มงคลสมพร
4
แสนสำราญ
91
นายบุญล้ำ  ภูยาดาว
5
หนองกาว
160
นายเสถียร  ภูนาเงิน
6
นาแก
141
นางดาวเรือง  ใจทา
7
เลิงทุม
128
นายประสิทธ์  ญาติประชุม
8
วังฝั่งแดง
101
นายสุบัน  ภูพันนา
9
โนนภักดี
78
นายสวน  สีทา
10
โนนลาน
59
นายบัวทอง  ภูหน่วยหนา
11
นาเชือกใหม่
195
นายประยุทธ  ภูพันเชือก
12
โนนสวรรค์
84
นายคำนวณ  คงแสนคำ
13
โนนหัวช้าง
53
นายถาวร  ภูบุญพา
14
นาแก
108
นายสัมฤทธ์  วงค์จอม
รวม
14 หมู่บ้าน
1,723

ที่มา; ฐานข้อมูล JHCIS ณ วันที่ 1  ตุลาคม  2554 /ทำเนียบการปกครองตำบลนาเชือกปี 2554

2. สภาพทางเศรษฐกิจ
            

    2.1 อาชีพ       
                    ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา โดยมีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ข้าวนาปี ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียว และนาปรัง ปลูกเพื่อขาย มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวนาปรังในฤดูแล้ง อันดับที่สองคือการ เลี้ยงสัตว์น้ำ ประเภท กุ้งก้ามกราม ซึ่งเป็นตำบลที่มีการเลี้ยงกุ้งมากที่สุดในภาคอีสาน สร้างเป็นรายได้ในครัวเรือนต่างๆได้ดี   พร้อมทั้งมีการทำปศุสัตว์ เช่น กลุ่มเลี้ยงวัว ในหมู่บ้าน เพื่อเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง อันดับสามคือการรับจ้างทั่วไปเช่น การก่อสร้าง รับใช้แรงงาน  ในพื้นที่ต่างๆ สรุป รายได้เฉลี่ย ประมาณ 30,000 บาทต่อคนต่อปี
     
      2.2 หน่วยธุรกิจในเขตตำบลนาเชือก


- ร้านจำหน่ายน้ำมัน                                             2           แห่ง
- โรงสีขนาดเล็ก                                              
   11           แห่ง
- ร้านค้า                                                              23           แห่ง
- ร้านจำหน่ายก๊าชหุงต้ม                                       2           แห่ง
- ร้านซ่อม                                                             8            แห่ง
- โรงงาน                                                               -             แห่ง


3. สภาพทางสังคม
                เป็นสังคมชนบท แต่มีการพึ่งพากันน้อยลง เปรียบเสมือนกำลังจะเข้าสู่สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท เพราะภาวะเศรษฐกิจในการแข่งขันกันสูงในขณะนี้ แต่พื้นที่ก็ยังมีการรักสมัครสมานสามัคคีกันอยู่ตลอดเวลาสังเกตจากการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันในระดับหมู่บ้านและชุมชน    แก้ปัญหายาเสพติด ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ประสานความร่วมมือกับ อำเภอ ตำรวจ หน่วยงานราชการอื่นๆ  เน้นยุทธศาสตร์ พลังแผ่นดิน
        
   3.1 การศึกษา                - โรงเรียนประถมศึกษา                                     จำนวน            2             แห่ง
                - โรงเรียนมัธยมศึกษา                                        จำนวน            1              แห่ง
                - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                           จำนวน            3              แห่ง
            
  3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา  
          นับถือศาสนาพุทธ 100%
               
- วัด/สำนักสงฆ์                                                   จำนวน            12            แห่ง 
  
  3.3 สาธารณสุข                - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล                จำนวน            1              แห่ง
                                - สุขศาลา                                              จำนวน            7              แห่ง
              
  3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                                 - ศูนย์ อปพร.    จำนวน   1   แห่ง

4. การบริการพื้นฐาน
              

   4.1 การคมนาคม
            
มีถนนสายหลัก 1 สายผ่านตอนกลางของตำบล สภาพของถนนลาดยางแอสฟัลท์ เป็นถนนของชลประทานลำปาว ซึ่งปัจจุบันได้โอนถ่ายไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง  ทิศเหนือสามารถเชื่อมต่อไปยังอำเภอสหัสขันธ์และอำเภอเมือง                ทิศใต้ไปถึงปากทางเขื่อนลำปาว ซึ่งสามารถเดินทางต่อไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์ ตมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 ส่วนถนนสายรองที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางแอสฟัลท์ จำนวน 9 หมู่บ้าน ส่วนที่เหลือเป็นถนนลูกรัง ส่วนถนนภายในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเกือบทั้งหมดโดยได้รับงบสนับสนุนในการพัฒนาจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือกและองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

        4.2 การโทรคมนาคม             - สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ (ตู้โทรศัพท์สาธารณะ)  จำนวน  14   แห่ง
    

      4.3 การไฟฟ้า
                - ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก มีไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน การปรับปรุงและต้องการขยายไฟฟ้า เพื่อประสิทธิภาพมากขึ้น
       

    4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
                สระน้ำ  หนอง  บึง  ลำห้วย  จำนวน 18  แห่ง
      

    4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
            - บ่อน้ำตื้น          จำนวน    5  แห่ง
            - บ่อบาดาล         จำนวน   19  แห่ง
            - ประปาหมู่บ้าน   จำนวน   12  แห่ง
            - ถังเก็บน้ำฝน      จำนวน   27  แห่ง


5. ข้อมูลอื่นๆ
   5.1 ทรัพยากรในพื้นที่                  ป่าไม้ธรรมชาติ           จำนวน            2           แห่ง
          

  5.2 มวลชนจัดตั้ง / กลุ่มอาชีพ
                - กลุ่มเลี้ยงหมู                                       จำนวน         1         กลุ่ม
                - กลุ่มร้านค้าชุมชน                               จำนวน         1         กลุ่ม
                - กลุ่มเลี้ยงกุ้ง                                        จำนวน         1         กลุ่ม
                - กลุ่มผู้ปลูกข้าว                                   จำนวน         1         กลุ่ม
                - กลุ่มเย็บผ้า                                          จำนวน         1         กลุ่ม
                - กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ                                   จำนวน         1         กลุ่ม
                - กลุ่มอสม.                                           จำนวน         1          กลุ่ม 
   - กลุ่มแอโรบิค                                      จำนวน        14          กลุ่ม
   - กลุ่มหมอพื้นบ้าน                                จำนวน          1          กลุ่ม
   - กลุ่มเยาวชน                                        จำนวน        14          กลุ่ม
   - กลุ่มสตรี                                             จำนวน          1          กลุ่ม
   - กลุ่มออมทรัพย์                                   จำนวน          1          กลุ่ม
               - กลุ่มปลูกอ้อย                                     จำนวน          1          กลุ่ม
               - กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน                          จำนวน         14         กลุ่ม


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น